ผู้แทนจากจังหวัดมุกดาหาร เข้าร่วมงาน CHAINA ASEAN EXPO (CAEXPO) ครั้งที่ 21 ณ นครหนานหนิง สาธารณรัฐประชาชนจีน

Uncategorized

ผู้แทนจากจังหวัดมุกดาหาร เข้าร่วมงาน CHAINA ASEAN EXPO (CAEXPO) ครั้งที่ 21 ณ นครหนานหนิง สาธารณรัฐประชาชนจีน

 


25 กันยายน 2567 นายวรญาณ บุญณราช ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร ได้มอบหมายให้นายคณิต ปัญติโย ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จังหวัดมุกดาหาร และ นายสมพงษ์ คุ้มสุวรรณ นายอำเภอเมืองมุกดาหาร เข้าร่วมงาน CHAINA ASEAN EXPO(CAEXPO) ครั้งที่ 21 ระหว่างวันที่ 23-27 กันยายน 2567 จัดโดยสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง (Mekong Institute.MI) ในงานส่งเสริมการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมอาเซียน และ การจับคู่โครงการธุรกิจ ณ นครหนานหนิง สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อสำรวจโอกาสทางการค้า และ การลงทุน รวมถึงการท่องเที่ยว กับประเทศในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง-ล้านช้างและอาเซียน รวมถึงการวางตำแหน่งข้อได้เปรียบด้านการค้า การลงทุน และ การท่องเที่ยว ของเขตเศรษฐกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย อย่างเหมาะสม ซึ่งในโอกาสนี้ได้เข้าเยี่ยมชมสำนักงาน CABC ซึ่งเป็นหน่วยงานส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจของหนานหนิง เพื่อลงนาม(MOU) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่าง CABC และ เขตเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ มุกดาหาร นครพนม อุดรธานี และ หนองคาย รวมทั้งได้ร่วมหารือเกี่ยวกับความร่วมมือในระยะยาวเพื่อส่งเสริมการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมและบริษัทฯชั้นนำของจีนในหนานหนิง เพื่อเพิ่มโอกาสให้กับธุรกิจการค้า การลงทุน และ การท่องเที่ยว ณ ศูนย์การค้าและเศรษฐกิจจีน-อาเซียน บริษัท กว่างซี ตงเป๋อ อินเตอร์เนชั่นแนล เทรด แอนด์ อินเวสเมนท์ จำกัด
นอกจากนี้แล้วยังได้ยังได้ร่วมลงนาม(MOU) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างบริษัท กลุ่มพัฒนาการลงทุนเขตซินหนาน เมืองซินหนาน จำกัด ประเทศจีน กับ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จังหวัดมุกดาหาร ประเทศไทย เพื่อกระชับความสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนระหว่างเขตความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมจีน-อาเซียน กับ นิคมอุตสาหกรรมหลักในประเทศอาเซียนต่างๆ ขยายความร่วมือในด้านการค้า การท่องเที่ยว และ การลงทุนระหว่างนิคมอุตสาหกรรมของจีนและประเทศอาเซียน ตลอดจนแบ่งปันโอกาสใหม่ๆ ภายใต้ RCEP ให้บรรลุฉันทามติดังนี้
1.การส่งเสริมการลงทุนและการค้า
2. การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนกันเป็นประจำ สลับกันเป็นเจ้าภาพ
3.เสริมสร้างความร่วมมทอด้านการค้า เช่น นิทรรศการ เป็นต้น
4.ส่งเสริมการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐ(ท้องถิ่น)
5.จัดตั้งกลไกการทำงาน ระหว่างนิคมอุตสาหกรรมทั้ง 2 ฝ่าย
ซึ่งในอนาคตข้างหน้าจะทำให้เกิดความยั่งยืนในด้านความร่วมมือต่างๆอีกหลายด้าน และเป็นประโยชน์กับภาคธุรกิจของทั้ง 2 ประเทศ/////