ท่าเรือแหลมฉบัง การท่าเรือแห่งประเทศไทย จัดพิธีมอบเงินค่าชดเชยเยียวยาให้กลุ่มประมงเรือเล็ก ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3 ปี งบประมาณ 2567 กว่า 21 ล้านบาท
วันนี้ (12 ธ.ค. )นายวีรชาติ พุทธรักษา ผู้ช่วยผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง เป็นประธานในพิธีมอบเงินค่าชดเชยเยียวยาให้กลุ่มประมงเรือเล็ก กลุ่มประมงบ้านโรงโป๊ะ หมู่ 3 ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3 ปีงบประมาณ 2567 โดยมี นายเทียนชัย มักเที่ยงตรง ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานสนับสนุน นางพรทิพา ทวีนุช ผู้อำนวยการกองบริหารงานทั่วไป คณะทำงานพิจารณาข้อมูลผู้ที่ไดรับผลกระทบจากโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังขั้นที่ 3 ผู้นำชุมชน และผู้ที่ได้รับผลกระทบ ร่วมพิธีมอบเงิน ณ ห้องแตรทอง 1 ศูนย์สวัสดิการท่าเรือแหลมฉบัง
นายวีรชาติ กล่าวว่า การท่าเรือแห่งประเทศไทย มีนโยบายการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของท่าเรือแหลมฉบังในการรองรับเรือตู้สินค้าระหว่างประเทศ และเป็นการเพิ่มศักยภาพในการให้บริการ การขนส่งสินค้าทางทะเล โดยมีการดำเนินการตามมาตรการในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างรุนแรง โครงการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3 (EHIA)
โดยที่ผ่านท่าเรือแหลมฉบัง ได้รับความร่วมมือร่วมใจจาก ผู้ประกอบการท่าเทียบเรือ ภาคเอกชน และส่วนราชการทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมถึง ภาคประชาชน ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ให้เป็นประตูเศรษฐกิจหลัก และเป็นท่าเรือที่มีความสำคัญ ต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ทั้งนี้ โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3 การท่าเรือแห่งประเทศไทย
ได้มีการดำเนินการตามมาตรการในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิตของประชาชน อย่างรุนแรง โครงการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบังขั้นที่ 3 (EHIA)ที่กำหนดให้มีการจ่ายค่าชดเชยเยียวยาให้กับกลุ่มประมง ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ ในวันนี้ท่าเรือแหลมฉบัง ได้มอบเงินค่าชดเชยเยียวยาให้กับกลุ่มประมง บ้านโรงโป๊ะ หมู่ที่ 3 รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 21,513,700.00 บาท
”ต้องขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ร่วมกันพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง จนประสบความสำเร็จในทุกวันนี้ โดยท่าเรือแหลมฉบัง มิได้มุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ท่าเรือแหลมฉบัง ยังเล็งเห็นถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน ด้วยความรับผิดชอบใส่ใจต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาท่าเรือ
แหลมฉบัง ขั้นที่ 3 ที่เปรียบเสมือนคนในครอบครัว การท่าเรือฯ อยู่ได้ ประชาชนก็ต้องอยู่ร่วมกันได้