จังหวัดอุตรดิตถ์จัดประชุมคณะอนุกรรมการสุขภาพจิตระดับจังหวัดชุดใหม่

Uncategorized

จังหวัดอุตรดิตถ์จัดประชุมคณะอนุกรรมการสุขภาพจิตระดับจังหวัดชุดใหม่


ที่ห้องประชุม ศิลาอาสน์ ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ นายศิริวัฒน์​ บุปผาผาเจริญ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์เป็นประธานในการประชุมคณะอนุกรรมการสุขภาพจิตระดับจังหวัดชุดใหม่
โดยมีนายชูพงษ์​ สังข์ผลิพันธ์​ ผอ.ศูนย์​สุขภาพจิต​ที่​ 2​พิษณุโลก​ นายสมชาย​ ทองกระสัน​ รอง​นายแพทย์​สาธารณสุข​จังหวัด​อุตรดิตถ์​ นายณัฐวัฒน์​ ราช​ประสิทธิ์​ ผู้ประสานงานเครือข่ายสื่อมวลชนจังหวัด​อุตรดิตถ์​ นายสราวุธ​ กนกฉันท์​ อัยการจังหวัดอุตรดิตถ์​ น.ส.กริสนาพลชา พัฒนา​สังคมและความมั่นคงของมนุษย​์จังหวัดอุตรดิตถ์​ พ.ต.ท.หญิง​ พรสวรรค์​ เกลียวทอง​ รองผกก.ฝ่ายอำนวยการ​ ตำรวจภูธร​จังหวัด​อุตรดิตถ์​น.ส.ชาครียา​ เศรษฐเสรี​ ปภ.จังหวัดอุตรดิตถ์​ ดร.สัจจา​ ฝ่ายคำตา ศึกษา​ธิการจังหวัด​อุตรดิตถ์​ นายวีระ​ รัตนศิริกุลชัย​ ประธาน​มูลนิธิ​อุตรดิตถ์​สงเคราะห์​ผู้แทนโรงพยาบาลอุตรดิตถ์​ ผช.ประชาสัมพันธ์​จังหวัดอุตรดิตถ์​และส่วนงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม​ ในการจัดการประชุมในครั้งนี้ เป็นการประชุมคณะอนุกรรมการสุขภาพจิต จังหวัดอุตรดิตถ์ชุดใหม่ซึ่งได้หมดวาระลง และได้มีการแต่งตั้งกรรมการชุดใหม่เข้ามาทำหน้าที่แทนชุดเก่า โดยมีทั้ง กรรมการชุดเก่าเดิมและกรรมการชุดใหม่ เข้ามาร่วม จำนวน 32 คน คณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติกระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำพระราชบัญญัติพ.ศ 2551 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ 2562 ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้มีความผิดปกติทางจิตและป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากผู้ป่วยจิตเวชและความสงบเรียบร้อยของสังคม ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2551 ให้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สุขภาพจิต จังหวัดขึ้น โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์เป็นประธานอนุกรรมการ สุขภาพจิตจังหวัด เพื่อทำหน้าที่วางแผนและกำกับติดตามการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติสุขภาพจิตพ.ศ 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติมในระดับจังหวัดได้แก่ด้านการสร้างเสริมสุขภาพจิตการป้องกันและควบคุมปัจจัยที่คุกคามสุขภาพจิตการคุ้มครองสิทธิของบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพจิตและการอยู่ร่วมกันในสังคม สนับสนุนและผลักดันการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยสุขภาพจิตและนำแผนพัฒนาสุขภาพจิตแห่งชาติไปสู่การปฏิบัติ ประสานและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยสุขภาพจิต การคัดกรองภาวะสุขภาพจิตทุกกลุ่มวัยโดยโปรแกรมเมล่อน Health Check In ปีงบประมาณ 2567 มีกลุ่มประชาชนทั่วไป กลุ่มเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าและฆ่าตัวตาย กลุ่มเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าและฆ่าตัวตายกลุ่มโรคเรื้อรังและผู้สูงอายุ รวมถึงการดำเนินงาน​school​health hero ในสถานศึกษา ในระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา รวมถึงการติดตามดูแลผู้ป่วยจิตเวชเนื่องจากสารเสพติดในชุมชน จำนวนผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ smiv ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือกลุ่มแอมเฟตามีน กัญชา กลุ่มแอมเฟตามีนกัญชาและจิตเวช และกลุ่มโรคจิตเวช กลุ่มแอมเฟตามีนกัญชาทั้ง 9 อำเภอมีจำนวน 126 คน กลุ่มแอมเฟตามีนกัญชา + จิตเวช 18 กลุ่มโรคจิตเวช 287 รวม 431 คน ในส่วนของศูนย์สุขภาพจิตที่ 2 พิษณุโลก แจ้งว่าสถานการณ์นมัสการป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายจังหวัดอุตรดิตถ์ปีงบประมาณ 2567 สถานการณ์การฆ่าตัวตายและปัจจัยที่เกี่ยวข้องการฆ่าตัวตาย มีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จ 41 คนคิดเป็น 9.3 ต่อแสงประชากรอำเภอที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่อำเภอน้ำปาดอำเภอทองแสนขันและอำเภอพิชัย กลุ่มเสี่ยงเป็นเพศชาย อยู่ในวัยทำงาน อาชีพรับจ้าง และเกษตรกรวิธีการ ผูกคอเหตุปัจจัยและวิธีที่ ใช้ในกลุ่มฆ่าตัวตายสำเร็จของจังหวัดอุตรดิตถ์ โลกเรื้อรังทางกาย อัมพาตเส้นเลือดสมองไตวายเรื้อรังโรคเอดส์ โรคการ จิตโรคซึมเศร้าโรคจิตเภท ปัจจัยเสี่ยง ป่วยด้วยโรคเรื้อรังทางกาย ติดสารเสพติด เคยทำร้าย ตนเอง ป่วย ทางจิตเวช ใช้แอลกอฮอล์ ปัจจัยกระตุ้น ประสบปัญหาชีวิต ขัดแย้งกับคนสำคัญ ปัญหาสุขภาพ จิตเวชกำเริบได้แก่ซึมเศร้าโรคจิตเภทของสารเสพติด จะเป็นเพศชาย 72.7% วิธีการใช้เชือกผูกคอ 78.8% ใช้อาวุธปืน 9.1% ปัจจัยป้องกันอ่อนแอความเข้มแข็งของความเชื่อศาสนาความผูกพันในครอบครัว ความผูกพันกับเพื่อนทักษะการแก้ไขปัญหา สัญญาณเตือนการเฝ้าระวังป้องกันบกพร่อง ระบบเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายยังไม่ดีพอ ระบบคัดกรองที่ตามผู้ดูแลโรคซึมเศร้ายังไม่ดีพอ ระบบแจ้งเตือนเหตุฆ่าตัวตายยังไม่ดีพอ อาชีพที่ ฆ่าตัวตายโดยใช้เชือก คืออาชีพรับจ้าง เกษตรกรรม กลุ่มวัยทำงาน ผู้พยายามฆ่าตัวตายไม่กลับมาทำร้ายตัวเองซ้ำในระยะ 1 ปี ผู้พยายามฆ่าตัวตาย 87 คนไม่กลับไปทำร้ายตัวเองซ้ำ 78 คนกลับไปทำร้ายตัวเองซ้ำ 9​ รายในพื้นที่อำเภอเมือง 8 อำเภอทองแสนขัน 1 ปัจจัยสาเหตุการพยายามฆ่าตัวตาย ป่วยด้วยโรคจิตเวชโรคซึมเศร้าเคยทำร้ายตนเองปัจจัยกระตุ้นมีปัญหาความระมัดระวังบุคคล รู้สึกทุกข์ทรมานจากการป่วยเศรษฐกิจหนี้สินบางรายอาจมีปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยกระตุ้นมากกว่า 1 ปัจจัยมีสัญญาณเตือน
ในส่วนของเครือข่ายสื่อมวลชนสุขภาพจิตจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้จัดกิจกรรม 1.โครงการตำรวจอุตรดิตถ์สุขภาพจิตเข้มแข็ง โดยตรวจสุขภาพ จิตของตำรวจสภเมืองอุตรดิตถ์ จำนวน 180 นาย ร่วมกับศูนย์สุขภาพจิตที่ 2 และโรงพยาบาลจิตเวชพิษณุโลก 2.โครงการพัฒนาศักยภาพ นักศึกษาสุขภาพจิตดี ปี 2567 ให้กับกลุ่มอปมช.อสม. ผู้นำท้องที่ท้องถิ่น และกลุ่มผู้สูงวัยของจังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 100 คนแบ่งออกเป็น 2 รุ่นรุ่นละ 50 คน ที่ห้องร่มราชพฤกษ์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุตรดิตถ์ 3 เครือข่ายสื่อมวลชนสุขภาพจิตจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้จัดรายการ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดอุตรดิตถ์ ทุกวันอาทิตย์ตั้งแต่เวลา 11 จนถึง 12:00 น ในรายการสุขภาพจิตดีที่อุตรดิตถ์ 4 เครือข่ายสื่อมวลชนสุขภาพจิต ได้รับเชิญจากศูนย์สุขภาพจิตที่ 2 พิษณุโลก ให้ไปเป็นวิทยากร ให้ความรู้ กับสื่อมวลชน ผู้นำท้องที่ท้องถิ่น อสม ที่จังหวัดตากที่ผ่านมา และในวันที่ 1-7 พฤศจิกายนเป็นสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติทางเครือข่ายสื่อมวลชนสุขภาพจิต จังหวัดอุตรดิตถ์ จะเร่งดำเนินการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เรื่องงานสุขภาพจิต​ ที่ตลาดประชารัฐ รู้รักสามัคคี หน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ในวันศุกร์ที่​
1​ พฤศจิกายน​ 2567
ณัฐวัฒน์​ ราช​ประสิทธิ์​ ภาพ/ข่าว​อุตรดิตถ์​0612928668