เครือข่ายสื่อมวลชนสุขภาพจิตจังหวัดอุตรดิตถ์
ร่วมกับศูนย์สุขภาพจิตที่ 2 พิษณุโลกจัดโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพนักสื่อสารสุขภาพจิตดี ปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ให้กับกลุ่มผู้สูงวัยและ อปมช.เพื่อเสริมความรู้ด้านการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายสำเร็จ
ที่ห้องร่มราชพฤกษ์ อาคาร 5 ชั้น 1 วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุตรดิตถ์ นายแพทย์อายุส ภมะราภา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ เดินทางมาเป็นประธานเปิด โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพนักสื่อสารสุขภาพจิตดี ปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ให้กับกลุ่มผู้สูงวัยและอสม. อปมช.และข้าราชการบำนาญเพื่อเสริมความรู้ด้านการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายสำเร็จ
โดยมี นายชูพงษ์ สังข์ผลิพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 2 พิษณุโลก นายสมชาย ทองกระสัน รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์ นายสยาม โต๊ะทองรองผอ.วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุตรดิตถ์ นายสมเกียรติ มั่นดี รอง ผอ.วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุตรดิตถ์ นางสุรีย์ แสงทอง ผอ.สวท.อุตรดิตถ์ นายณัฐวัฒน์ ราชประสิทธิ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายสื่อมวลชนสุขภาพจิตจังหวัดอุตรดิตถ์ และเครือข่าย สื่อมวลชนสุขภาพจิตจังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มผู้สูงวัยและอสม. อปมช.และข้าราชการบำนาญนักศึกษาสาขาจัดการผู้สูงอายุ วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุตรดิตถ์ จำนวนกว่า 70 คนเข้าร่วมโครงการในวันนี้ ปัจจุบันคนไทยมีปัญหาสุขภาพจิตที่หลากหลายขึ้น โดยมีปัจจัยพื้นฐานมาจากการเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจการแข่งขันที่สูงในเรื่องการทำงาน ทำให้เกิดความกดดันในการดำเนินชีวิตสูงมาก จึงจำเป็นที่ประชาชนทุกคนควรรู้จักวิธีรับมือกับปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดขึ้น เพราะถ้าไม่สามารถจัดการกับปัญหาได้อย่างเหมาะสมโอกาสเกิดปัญหาสุขภาพจิตที่รุนแรงต่างๆจะตามมาได้อีกมาก ดังข้อมูลรายงานปัญหาสุขภาพจิตของคนไทยข้อมูลการประเมินสุขภาพจิตออนไลน์ของกรมสุขภาพจิตในปี ๒๕๖๖ เผยให้เห็นว่าวัยรุ่นกลุ่มอายุต่ำกว่า ๒๐ ปีเสี่ยงซึมเศร้าสูงถึงร้อยละ ๓๔.๑ และจากข้อมูลวิเคราะห์ระบาดวิทยาการฆ่าตัวตายในภาพรวมประเทศไทยปี ๒๕๖๖ พบว่า วัยรุ่น อายุ ๑๕-๑๙ ปี พยายามฆ่าตัวตายมากที่สุดอัตรา ๑๖.๘ ต่อประชากรแสนคน และผู้สูงอายุฆ่าตัวตายสำเร็จสูงที่สุดในอัตรา ๑๐.๔ ต่อประชากรแสนคน เช่นเดียวกับสถานการณ์ฆ่าตัวตาย เขตสุขภาพที่ ๒ ปี ๒๕๖๖ พบว่า การฆ่าตัวตายโดยรวม เพิ่มขึ้นร้อยละ ๓.๓ โดยมีอัตราฆ่าตัวตายสำเร็จอยู่ที่ ๑๐.๓๙ ต่อประชากรแสนคน ซึ่งเกินเกณฑ์ที่กำหนดไม่เกินอัตรา ๘.๐ ต่อประชากรแสนคน
จากปัญหาดังกล่าวจึงมีความจาเป็นที่จะต้องเสริมสร้างความรอบรู้สุขภาพจิตให้กับประชาชนให้สามารถรู้เท่าทันการเกิดปัญหาสุขภาพจิต การจัดการเบื้องต้นและการขอรับการช่วยเหลือจากบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผ่านการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความรู้สุขภาพจิตในช่องทางต่างๆทั้ง Air war และ Ground war โดยนักสื่อสารประชาสัมพันธ์ที่มีความรู้ ความเข้าใจและทักษะทางด้านสุขภาพจิต ในการส่งผ่านความรู้สุขภาพจิตไปยังกลุ่มประชาชนในพื้นที่อย่างครอบคลุม
ณัฐวัฒน์ ราชประสิทธิ์ ภาพ/ข่าวอุตรดิตถ์ 0612928668