สำนักงานเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ ประเมินสถานการณ์ทุเรียน ฤดูกาลปี 2567
สำนักงานเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ โดย นางพรทิพย์ ศรีสมโภชน์ เกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ มอบหมายให้นางสาวกิติยา นวลหิน นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ปฏิบัติหน้าที่ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต ร่วมกับเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอลับแล ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์การผลิตทุเรียน ในพื้นที่ตำบลนานกกก อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
พบว่าปัจจุบันผลผลิตทุเรียนของจังหวัดอุตรดิตถ์เริ่มมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตแต่ยังมีปริมาณไม่มากนักซึ่งผลผลิตที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ คือ ทุเรียนพันธุ์หลงลับแล และทุเรียนพันธุ์หลินลับแล ส่วนทุเรียนพันธุ์หมอนทองจะเริ่มเก็บเกี่ยวตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม – ต้นเดือนมิถุนายน2567 เป็นต้นไป ทุเรียนหลงลับแลอุตรดิตถ์ Uttaradit Long Lab Lae Durian ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (G)ทะเบียนเลขที่ สช 61100104ลักษณะเด่นของทุเรียนหลงลับแลอุตรดิตถ์ ผลทรงกลมหรือกลมรี ขนาดเล็ก เปลือกบาง เนื้อเยอะ สีเหลืองเข้มเนื้อแห้งละเอียดเหนียว มีกลิ่นอ่อน รสชาติหวานมัน เมล็ดลีบเล็กปลูกในเขตพื้นที่อำเภอลับแล อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ และ ต.นางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ทุเรียนหลินลับแลอุตรดิตถ์ Uttaradit LIN Lab Lae Durian ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (G)ทะเบียนเลขที่สช611100105ลักษณะเด่นของทุเรียนหลินลับแลอุตรดิตถ์ ผลทรงกระบอก เปลือกบาง เนื้อสีเหลืองเข้ม เนื้อละเอียด เหนียวแห้ง รสชาติหวานมันกลิ่นอ่อน เนื้อมาก เส้นใยน้อย เก็บไว้ใต้นานโตยไม่แฉะ เมล็ดลีบเล็กปลูกในเขตพื้นที่อำเภอลับแล อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ และ ต.นางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ทั้งนี้จังหวัดอุตรดิตถ์ ยังมีทุเรียนหมอนทอง ซึ่งถือว่าเป็นทุเรียนอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่มีพื้นที่ปลูกบนภูเขาสูงที่เรียกว่าดอยซึ่งมีสภาพภูมิประเทศที่เหมาะสมและแตกต่างจากแหล่งผลิตอื่น ชาวสวนทุเรียน ดูแลสวนทุเรียนด้วยความใส่ใจ เพื่อให้ได้ผลผลิตทุเรียนที่มีคุณภาพดี ส่งต่อสำนักงานเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ ประเมินสถานการณ์ทุเรียน ฤดูกาลปี 2567ให้กับผู้บริโภค
ณัฐวัฒน์ ราชประสิทธิ์ ภาพ/ข่าวอุตรดิตถ์ 0612928668